วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

 
 
 
 
วันเข้าพรรษา 2555
Buddhist Lent Day 
 
วันเข้าพรรษา พรรษาแห่งการบรรลุธรรม

วันเข้าพรรษา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
 

ความเป็นมาของการเข้าพรรษา

     ในเรื่องความเป็นมาของการเข้าพรรษา ถ้าว่ากันตามประวัติย่อๆ คือ ในยุคต้นพุทธกาล ก็ยังไม่มีการเข้าพรรษา เพราะฉะนั้นตลอดทั้งปี เมื่อพระภิกษุมีความเห็นว่าท่านควรจะไปเทศน์ ไปสอนญาติโยมที่ไหนได้ ท่านพอมีเวลา ท่านก็จะไป หรือไม่ได้ไปเทศน์ไปสอนใคร ถ้าเห็นว่าที่ไหนมันเงียบ มันสงัดดี เหมาะในการที่จะไปบำเพ็ญภาวนา ทำสมาธิ(Meditation)ของท่าน ท่านก็จะไป ซึ่งแน่นอน ส่วนมากก็จะอยู่ในเขตที่เป็นป่าเป็นเขา ไกลๆออกไปจากตัวเมือง หรือว่าต้องผ่านไปในชนบทนั่นเอง
 
     จากการที่ท่านต้องไปอย่างนี้ เนื่องจากในฤดูฝนที่เขาทำไร่ทำนากันอยู่นั้น บางครั้ง ข้าวกล้าของเขาก็เพิ่งหว่านลงไปในนา มันเพิ่งงอกออกมาใหม่ๆ บางทีก็ดูเหมือนหญ้า พระภิกษุก็เดินผ่านไป นึกว่ามันเป็นดงหญ้า ก็เลยย่ำข้าวกล้าของเขาไป ซึ่งก็ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน เขาก็มาฟ้องพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพระไปย่ำข้าวของเขาที่ปลูกเอาไว้ หว่านเอาไว้ นกกาฤดูฝนมันยังอยู่กับรังของมัน พระทำไมไม่รู้จักพักบ้าง
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดให้พระภิกษุมีการเข้าพรรษาเมื่อเข้าฤดูฝน
 
วันเข้าพรรษาคือตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 11
 
     เพื่อตัดปัญหานี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เลยทรงกำหนดให้พระภิกษุ เมื่อเข้าพรรษา หรือเมื่อเข้าฤดูฝน ให้พระอยู่กับที่ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8 จนกระทั่งขึ้น 15ค่ำเดือน11 ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ไม่ไปทำภาวนาที่ไหน ไม่ไปเทศน์โปรดใคร ถ้าใครต้องการให้โปรด ก็มาที่วัดก็แล้วกัน มาหาท่าน ไม่ใช่ท่านไปหาเขา กำหนดเป็นอย่างนี้ไป เพื่อตัดปัญหาไม่ให้ใครมาบ่นลูกของพระองค์ได้
 
     แต่อีกมุมมองหนึ่ง พระองค์ทรงถือโอกาสที่เกิดเป็นปัญหานี้ ได้ทรงเปลี่ยนคำครหาให้กลายเป็นโอกาสดีของพระภิกษุว่า ถ้าอย่างนั้นพระภิกษุอยู่เป็นที่ในวัดวาอาราม เพื่อที่จะให้พระใหม่ได้รับการอบรมจากพระเก่าได้เต็มที่ เพราะว่าจริงๆแล้ว ในการอบรมถ่ายทอดศีลธรรม ถ่ายทอดธรรมวินัยให้แก่กันและกันนั้น ถ้าทำอย่างต่อเนื่อง ทำเป็นที่เป็นทางต่อเนื่องกันทุกวันทุกวัน อย่างนี้จะเป็นการดี การศึกษาธรรมะอย่างต่อเนื่องมีผลดี
 
ลูกผู้ชายบวชให้ได้อย่างน้อย 1 พรรษา
 
พระภิกษุต้องอยู่วัดช่วงเข้าพรรษา
 
     เพราะฉะนั้น พระองค์ก็เลยทรงกำหนดขึ้นมาว่า ให้พระภิกษุอยู่กับที่ในช่วงเข้าพรรษาอยู่ในวัด แล้วพระใหม่ก็ศึกษาหรือรับการถ่ายทอดธรรมะจากพระเก่า ส่วนพระเก่าก็ทำหน้าที่เป็นครูบาอาจารย์ด้วย คือ สอนพระใหม่
 
    เท่านั้นยังไม่พอ พระเก่าก็วางแผน กำหนดแผนการเลยว่าเมื่อออกพรรษาแล้ว ควรจะเดินทางไปโปรดที่ไหน นั่นก็อย่างหนึ่ง อีกทั้งปรับปรุงหลักสูตรวิธีการเทศน์การสอน การอบรมให้เหมาะกับท้องถิ่น ให้เหมาะกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป เป็นต้น
 
ช่วงเข้าพรรษาพระใหม่ก็จะได้รับการถ่ายทอดธรรมะจากพระเก่า
 
ช่วงเข้าพรรษาพระใหม่ก็ศึกษาธรรมะจากพระเก่า
พระเก่าก็ทำหน้าที่เป็นครูบาอาจารย์สอนพระใหม่
 
ดังนี้ การเข้าพรรษาจึงเป็นการดีทั้งประชาชน ดีทั้งพระเก่า พระใหม่ ไปในตัวเสร็จ 
 
กิจวัตรของพระภิกษุในฤดูเข้าพรรษา  
 
     ทีนี้กิจวัตรของพระภิกษุในฤดูเข้าพรรษา ว่าที่จริงก็ทำนองเดียวกันกับออกพรรษา เพียงแต่ว่าเมื่อไม่ได้ออกไปนอกพื้นที่ พระภิกษุจึงมีโอกาสดังต่อไปนี้
 
     ตัวท่านเองนั้น ก็มีโอกาสที่จะทำภาวนาของท่าน มีโอกาสที่จะปรับปรุงหลักสูตรของท่าน มีโอกาสที่จะค้นคว้าพระไตรปิฎกให้ยิ่งๆ ขึ้นไป อันนี้ก็เป็นเรื่องราวในปัจจุบันนี้ กิจวัตรในปัจจุบันของพระ เราก็ทำอย่างนี้
 
เจริญภาวนาในช่วงเข้าพรรษา
 
ในช่วงเข้าพรรษานี้พระภิกษาสงฆ์จะได้มีโอกาส
หาความรู้จากพระไตรปิฎกให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
 
     ยิ่งกว่านั้น ถ้าเราไปตามวัดต่างๆ ในขณะนี้ ในฤดูเข้าพรรษานี้ เนื่องจากเราก็นิยมบวชกัน จะบวชชั่วคราวแค่พรรษาก็ตาม หรือจะบวชระยะยาวก็ตาม ในเมื่อพอเข้าพรรษาแล้ว พระเก่าพระใหม่ต้องอยู่ที่เดียวกัน พระเก่าทำหน้าที่เป็นครูบาอาจารย์ ใครถนัดวิชาไหนก็มาสอนวิชานั้นให้แก่พระภิกษุใหม่ ใครถนัดพระวินัยก็สอนพระวินัย ใครถนัดสอนนักธรรมหรือธรรมะก็สอนธรรมะ ใครถนัดสอนพุทธประวัติก็สอนพุทธประวัติ เป็นต้น
 
     พูดง่ายๆ ฤดูเข้าพรรษาจึงกลายเป็นฤดูติวเข้ม หรือถ้าจะพูดกันอย่างในปัจจุบันก็บอกว่า ฤดูเข้าพรรษานี่แท้จริงก็เป็น Moral Camping ของพระภิกษุนั่นเอง กิจวัตรอื่นใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกไปโปรดญาติโยมก็พักเอาไว้ก่อน จึงเหลือแต่เรื่องของการศึกษาเป็นหลัก ค้นคว้าพระไตรปิฎกเป็นหลัก เนื่องจากมีเวลาที่จะค้นคว้า
 
ช่วงเข้าพรรษาพระภิกษุจะได้มีเวลาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก
 
ฤดูกาลเข้าพรรษาเป็นฤดูกาลติวเข้มของพระภิกษุ
 
     เมื่อหมดจากเวลาการค้นคว้า ก็มานั่งสมาธิกันไป อันนี้ก็เป็นเรื่องของการค้นคว้าภายใน พระไตรปิฎกในตัว พระไตรปิฎกนอกตัวก็มีอยู่เป็นเล่มๆ ค้นคว้าพระไตรปิฎกในตัวก็คือการทำภาวนานั่นเอง
 
     ยิ่งกว่านั้น เมื่อพระใหม่มาอยู่ในวัดกันพร้อมหน้าพร้อมตา โยมพ่อโยมแม่ ญาติพี่น้อง พรรคพวกเพื่อนฝูงของพระใหม่ ได้มาร่วมทำบุญที่วัด ได้มาพบพระเพื่อน พบพระลูก พบพระหลาน ถึงแม้พระลูกพระหลานเหล่านี้ยังเทศน์ไม่เป็น เพราะบวชใหม่ แต่ว่าเมื่อมาแล้วก็จะได้พบพระครูบาอาจารย์ พระผู้ใหญ่ ท่านที่มาร่วมทำบุญเหล่านี้จึงมีโอกาสฟังเทศน์จากพระผู้ใหญ่ จึงกลายเป็นฤดูแห่งการศึกษาธรรมะไปด้วยในตัวเสร็จ ทั้งของพระ ทั้งของญาติโยม อันนี้ก็เป็นเรื่องราวของการเข้าพรรษาในยุคปัจจุบันนี้
 

การปฏิบัติตัวของชาวพุทธในช่วงเข้าพรรษา 

 
    ในช่วงเข้าพรรษา พระเก่าพระใหม่ ท่านอยู่กันพร้อมหน้า เมื่ออยู่พร้อมหน้ากันอย่างนี้ ก็เป็นโชคดีของญาติโยม โชคดีอย่างไร โชคดีที่เนื้อนาบุญอยู่กันพร้อมหน้า ญาติโยมตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตาทวด ท่านไม่ปล่อยให้พระเข้าพรรษาเพียงลำพัง ญาติโยมก็พลอยเข้าพรรษาไปด้วยเหมือนกัน แต่ว่าเข้าพรรษาของญาติโยมนั้น เข้าพรรษาด้วยการอธิษฐานจิต

วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ประวัติ ความเป็นมา


วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ประวัติ ความเป็นมา
วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” หรือพระพุทธเจ้าหลวง ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น “วันปิยมหาราช”
ในวันปิยมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสด็จฯ ไปวางพวงมาลา ณ พระบรมรูปทรงม้าซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นประจำทุกปี
วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ประวัติ ความเป็นมา

ประวัติ ความเป็นมา วันปิยมหาราช

เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ครั้นนั้นเป็นที่เศร้าสลดอย่างใหญ่หลวง ของพระบรมวงศานุวงศ์และปวงชนทั่วประเทศ เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เคารพรักของหวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุข แก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามว่า พระปิยมหาราช หรือพระพุทธเจ้าหลวง
เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพตามราชประเพณีแล้ว ครั้งเมื่อบรรจบอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายตามราชประเพณี โดยเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ออกประดิษฐานบนพระแท่นนพปฎลมหา-เศวตฉัตร และเชิญพระพุทธรูปปางประจำพระชนมวารประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือพระที่นั่งอนันตสมาคม ส่วนที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระลานพระราชวังดุสิต หน้าที่นั่งอนันตสมาคม ที่เรียกว่าพระบรมรูปทรงม้า
ซึ่งเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ได้ร่วมใจกันรวบรวมเงินจัดสร้างประดิษฐานขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงพระชนม์อยู่เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ยั่งยืนนานถึง ๔๐ ปี และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายนพ.ศ. ๒๔๕๑ นั้น
วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ประวัติ ความเป็นมา

ราชการได้ประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคม : เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติ

ต่อมาทางราชการได้ประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคมซึ่งเป็นวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า วันปิยมหาราช และกำหนดให้หยุดราชการวันหนึ่งในวันปิยมหาราช เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น กรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็นสำนักพระราชวัง ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติ ฉัตร ๕ ชั้น ประดับโคม ไฟ ราวเทียม กระถางธูป ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราชครั้งแรก คือ ถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้ว ได้เสด็จฯไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์ 
วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ประวัติ ความเป็นมา

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี)เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ

สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์

บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๑

ระหว่างที่ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม ยิ่งกว่านั้นในตอนนี้ยังได้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา 2 ครั้ง เสด็จประพาสอินเดีย 1 ครั้ง การเสด็จประพาสนี้มิใช่เพื่อสำราญพระราชหฤทัย แต่เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครอง ที่ชาวยุโรปนำมาใช้ปกครองเมืองขึ้นของตน เพื่อจะได้นำมาแก้ไขการปกครองของไทย ให้เหมาะสมแก่สมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนการแต่งตัว การตัดผม การเข้าเฝ้าในพระราชฐานก็ใช้ยืน และนั่งตามโอกาสสมควร ไม่จำเป็นต้องหมอบคลานเหมือนแต่ก่อน

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒

เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเป็นเวลา ๒ สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาด ในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่นคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้ 
วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ประวัติ ความเป็นมา

พระราชานุสาวรีย์

รัชสมัยของพระองค์ เป็นรัชสมัยแห่งการปฏิวัติแทบจะทุกทาง เหตุนี้ประชาชนจึงพร้อมใจกันเรี่ยไรเงินสร้างอนุสาวรีย์อย่างใดอย่างหนึ่งไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระองค์ บังเอิญประจวบเหมาะกับพระองค์เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2450 ทรงพอพระทัยพระบรมรูปหล่อของพระเจ้าหลุยส์จึงขอให้พระองค์ไปประทับนั่งให้ชาวฝรั่งเศสปั้น แล้วหล่อส่งเข้ามาในประเทศ โปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ พระลานหน้าพระราชวังดุสิต ทรงประกอบพระราชพิธีเปิดพระบรมรูปนี้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2451
พระบรมรูปทรงม้านี้ ขนาดทั้งพระบรมรูปและม้า ทรงทำโตกว่าของจริงเล็กน้อย โดยหล่อด้วยโลหะชนิดทองบรอนซ์ พระบรมรูปประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนอันเป็นแท่นรองสูงประมาณ 6 เมตร กว้าง 2 เมตรครึ่ง ยาว 5 เมตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงษวรุตมพงษบริพัต วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จดำรงราชสมบัติมาถึง 42 ปีเต็มบริบูรณ์ เป็นรัชสมัยที่ยืนนานยิ่งกว่าสมเด็จพระมหาราชาธิราชแห่งสยามประเทศในอดีตกาล
พระองค์กอร์ปด้วยพระราชกฤษฎาภินิหาร เป็นอัจฉริยภูมิบาลบรมบพิตร เสด็จสถิตในสัจธรรมอันมั่นคงมิหวั่นไหว ทรงอธิษฐานพระราชหฤทัยในทางที่จะทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้สถิตสถาพรและให้เกิดความสามัคคีสโมสร เจริญสุขสำราญทั่วไปในเอนกนิกร ประชาชาติเป็นเบื้องหน้า พระราชจรรยาทรงพระสุขุมปรีชาสามารถสอดส่องวินิจฉัย ในคุณโทษแห่งประเพณีเมือง ทรงปลดเปลื้องโทษ นำประโยชน์มาบัญญัติ โดยปฏิบัติพระองค์ทรงนำหน้า ชักจูงประชาชน ให้ดำเนินตามในทางที่งามดีมีประโยชน์เป็นแก่นสาร
พระองค์ทรงทำให้ความสุขสำราญแห่งประชาราษฎร์สำเร็จได้ ด้วยอาศัยดำเนินอยู่เนืองนิจในพระวิริยะและพระขันติคุณอันแรงกล้า ทรงอาจหาญในพระราชจรรยา มิได้ย่อท้อต่อความลำบากยากเข็ญ มิได้เห็นข้อขัดข้องอันเป็นข้อควรขยาด แม้ประโยชน์และความสุขในส่วนพระองค์ ก็อาจจะสละแลกความสุขสำราญพระราชทานไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้ โดยทรงพระกรุณาปรานี พระองค์คือบุรพการีของราษฎร เพราะเหตุเหล่านี้แผ่นดินของพระองค์จึงยิ่งด้วยความสถาพรรุ่งเรืองงาม มหาชนชาวสยามถึงความสุขเกษมล่วงล้ำอดีตสมัยที่ได้ปรากฏมา พระองค์จึงเป็นปิยมหาราช ที่รักของมหาชนทั่วไป
ครั้นบรรลุอภิลักขิตสมัย รัชมังคลาภิเษก สัมพัจฉรกาล พระราชวงศานุวงศ์ เสนามาตย์ราชบริพาร พร้อมด้วยสมณพราหมณ์ อาณาประชาชนชาวสยามประเทศทุกชาติทุกชั้นบรรดาศักดิ์ ทั่วรัชสีมาอาณาเขต มาคำนึงถึงพระเดชพระคุณอันได้พรรณนามาแล้วนั้น จึงพร้อมกันสร้างพระบรมรูปนี้ ประดิษฐานไว้สนองพระเดชพระคุณเพื่อประกาศเพื่อเกียรติยศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปิยมหาราช ให้ปรากฏสืบไปชั่วกาลปวสาน
เมื่อสุรยคติกาล พฤศจิกายนมาศ เอกาทศดิถีพุฒวาร จันทรคติกาล กฤติกมาศ กาฬปักษ์ ตติยดิถี ในปีวอก สัมฤทธิมา 41 จุลศักราช 1270 (ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2451)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 พระชนมายุได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัติมานานถึง 42 ปี นับเป็นรัชสมัยที่ยืนนานที่สุดในประเทศไทย
เทศกาลกินเจ

นับถอยหลังทั้งกาย-ใจ 'เทศกาลกินเจ' ทำกุศล 'เพื่อสุขภาพ' (เดลินิวส์)

          เข้าสู่ช่วงนับถอยหลัง-เตรียมตัวกันแล้ว สำหรับ "เทศกาล กินเจ" ที่จะเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปลายสัปดาห์นี้ โดยวันที่ 17 ต.ค. เป็นวันล้างท้อง และระหว่างวันที่ 18-26 ต.ค. เป็นช่วงวัน "กินเจ" ซึ่งในเชิงเศรษฐกิจก็มีการวิเคราะห์ว่าเทศกาลกินเจใน เมืองไทยปีนี้จะมีเม็ดเงินเกี่ยวกับธุรกิจอาหารเจสะพัดราว 2.7 หมื่น ล้านบาท
   
          ส่วนผู้ถือศีล-กินเจ ก็ย่อมหมายมั่นที่เรื่องบุญกุศล ขณะเดียวกัน การกินเจก็เกี่ยวข้องกับ สุขภาพ ด้วย !!
   
          "ควรเลือกบริโภคอาหารที่ปรุงสะอาดถูกสุขอนามัย ถูกหลักโภชนาการ เพื่อทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนและ มีคุณค่าเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย" ...เป็นคำแนะนำของ นพ.โสภณ เมฆธน รองอธิบดีกรมอนามัย และต่อเนื่องด้วยหลักปฏิบัติ ของผู้งดเนื้อสัตว์ใน 3 กลุ่มคือ.....
   
          กลุ่มที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ทุกชนิด ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม เนย รวมถึงหัวหอม กระเทียม กุยช่าย หลักเกียว (คล้ายกระเทียม แต่เล็กกว่า) ใบยาสูบ ในกลุ่มนี้จำเป็นต้องบริโภคถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง มีสารที่ให้กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ทดแทนสารอาหารจากเนื้อสัตว์ที่ไม่บริโภค การบริโภคถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารจำพวกโปรตีน และธาตุ เหล็ก ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
   
          กลุ่มที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ ไข่ หัวหอม กระเทียม หัวไชเท้า กุยช่าย พริกแดง แต่ดื่มนมและบริโภคผลิตภัณฑ์จากนม กลุ่มนี้ จำเป็นต้องได้รับสารอาหารทดแทนด้วยการบริโภคถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ ควบคู่กับ ข้าวกล้อง ซึ่งให้โปรตีนสูงกว่าข้าวขาว อีกทั้งยังช่วยให้ได้รับสารอาหารประเภทวิตามินบีต่าง ๆ และเกลือแร่ด้วย
   
          กลุ่มที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ แต่บริโภคไข่และผลิตภัณฑ์จากนม เนย กลุ่มนี้มีข้อได้เปรียบตรงที่ร่างกายยังได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนจากไข่ และแคลเซียมจากนม ซึ่งกลุ่มนี้จะ เหมาะสำหรับเด็กที่ต้องการกินเจด้วย เพราะร่างกายจะยังคงได้รับสารอาหารต่าง ๆ ที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกายและสมอง
   
          "ผู้บริโภคควรต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการเลือก ซื้อและบริโภคอาหารเจ ซึ่งเมื่อถึงเทศกาลกินเจจะมีการปรุงอาหาร ออกมาจำหน่ายหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบสำเร็จรูป อาหารคาว- หวาน อาหารถุง อาหารกระป๋อง ก่อนเลือกซื้อไปบริโภคก็ควร ต้องคำนึงถึงคุณค่า ราคา ความสะอาดปลอดภัย ตลอดจนภาชนะ บรรจุภัณฑ์และวันหมดอายุ เพื่ออนามัยที่ดี" ...รองอธิบดีกรม อนามัยระบุ
   
          ทางด้าน นพ.ณรงค์ สายวงศ์ ผู้อำนวยการกองโภชนา การ กรมอนามัย ก็ให้คำแนะนำผ่าน "สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์" ว่า... ในช่วงถือศีล กินเจ ช่วงเทศกาลการปฏิบัติตนทั้งกายและใจ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีอีกโอกาสหนึ่งที่จะได้ยึดถือเพื่อที่จะทำความดีกันนั้น สำหรับการ กินเจ ไม่บริโภคเนื้อสัตว์และผักบางชนิด ก็สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจ รู้สึกว่าได้ละเว้นการทำบาป จึงถือได้ว่า "อาหารเจ เป็นทั้งอาหารกายและอาหารใจ"
   
          การไม่บริโภคเนื้อสัตว์นั้น ในแง่ของสุขภาพก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ เช่นทำให้ระบบขับถ่ายของร่างกายดี การเสี่ยงต่อโรคมะเร็งก็จะลดน้อยลง ขณะเดียวกัน ลึก ๆ แล้วการ กินเจ ยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมที่อ่อนโยนต่อโลก ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เข้าใกล้วิถีแห่งพระโพธิสัตว์ คือไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
   
          อย่างไรก็ดี เพื่อมิให้มีปัญหาทางสุขภาพกาย หลักในการ กินเจ ก็ควรเน้นที่สีของอาหาร ไม่ว่าจะเป็นถั่ว ผัก ผลไม้ ควรบริโภค  อาหารให้ครบทั้งสีขาว เขียว เหลือง ดำ และแดง เพราะไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่จะให้สารอาหารครบถ้วน และข้อควรระวังคือ หลีกเลี่ยงอาหารพวกแป้งและอาหารที่ใช้น้ำมันมาก ๆ รวมถึง ผักต่าง ๆ ก่อนจะใช้ปรุงอาหาร ก็ต้องล้างให้สะอาด เพื่อป้องกันสารพิษตกค้าง
   
          หากกินเจอย่างถูกหลักโภชนาการ นอกจากจะทำให้การกินเจส่งผลดีทางด้านจิตใจแล้ว ยังทำให้ร่างกายของผู้ที่กินเจไม่มีปัญหา เช่น น้ำหนักเกิน ก็สามารถช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้ รวมทั้งยังช่วยให้อวัยวะที่ใช้ในการขับถ่ายไม่อุดตัน ช่วยให้ไตทำงานน้อยลง เป็นต้น และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง...แม้จะกินเจ ก็คือการหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเผาผลาญพลังงานส่วนเกินที่ร่างกายได้รับ และส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีตามมา
   
          "การหิวโหยอ่อนแรงเพราะกินเจ เพราะเคยชินกับการกินเนื้อสัตว์ ให้แก้อาการด้วยการกินข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ถั่วเมล็ดแห้ง เพื่อชดเชย และการกินผักมากเกินไปก็อาจเป็นโทษต่อร่างกายได้ เพราะผักบางชนิดมีสารที่ขัดขวางการดูดซึมสารอาหาร  ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย-อ่อนแรงได้ ดังนั้น ทางที่ดีควรเดินสายกลาง อย่าสุดโต่งมากเกินไป อีกทั้งช่วงกินเจนั้น ก็คงไม่ใช่แค่มุ่งกินผักอย่างเดียว แต่ควรทำจิตใจให้ผ่องแผ้วด้วย ไม่คิดร้าย ไม่อิจฉาริษยาคนอื่น ถือ